วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552




พระร่วงยืน
หลังลายผ้า เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แตกกรุออกมาครั้งแรก
เมื่อประมาณ 120 ปีที่ผ่านมา ประมาณ พ.ศ. 2430 อายุของพระพิมพ์นี้ประมาณ
มากกว่า 800 ปีมาแล้ว ขอมสร้างตอนเมืองลพบุรีตกอยู่ภายในการปกครองของ
ขอม ซึ่งตอนนั้นเรียกเมืองลพบุรี ว่าเมืองละโว้ เป็นพระปางยืนประทานพร ศิลปะ
เขมร ยุคบายน ศิลปะขององค์พระอลังการเป็นอย่างมาก นับเป็นต้นสกุลพระร่วง
เนื้อตะกั่วสนิมแดงทั้งหมด ช่างศิลปะแห่งกรุงละโว้ได้ให้จินตนาการไว้อลังการ
ด้วยสุดยอดพุทธลักษณะ แสดงออกทางด้านกายวิภาคและเข้าถึงอารมณ์ได้
อย่างเยี่ยมยอดเป็นที่ประทับใจแด่ผู้พบเห็น ได้ราวกับองค์พระมีชีวิตทีเดียวเมื่อ
มองด้วยสายตา พระพุทธคุณนั้นเป็นพระเครื่องที่ยิ่งยงและเพียบพร้อมความขลัง
ไว้ทุกด้่าน ด้วยเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน และมหาอุตม์ นับเป็น
ยอดของขลังชั้นนำในระดับประเทศ ถูกบรรจุอยู่ในชุด " ยอดขุนพล " ที่หายาก
ที่สุด เป็นพระชั้นนำของลพบุรี ที่มีอายุสูงกว่าพระร่วง " หลังรางปืน " ของ
สวรรคโลก ขนาดองค์พระนั้น กว้างประมาณ 2.2 ซม. สูงประมาณ 7.7 ซม.
จัดเป็น " จักรพรรดิผิวแดง " แห่งกรุงละโว้ องค์ปฐมฤกษ์ของลพบุรี

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จัดว่าเป็นวัดที่มีการพบพระเครื่องเป็นจำนวนมาก และ
มากที่สุดกว่าทุกวัดที่พบพระ เรียกว่ามีมากจำนวน 3 ใน 4 ของพระที่พบทั้งหมดใน
จังหวัดลพบุรีเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นพระร่วงนั่งที่พบในกรุนี้จึงมีปรากฏอยู่หลาย
พิมพ์และมีหลายแบบด้วยกัน ถ้าจะเรียกชื่อแยกแต่ละพิมพ์แล้วก็ยากต่อการที่จะ
ตั้งชื่อพระแต่ละพิมพ์ นักสะสมพระเครื่องรุ่นแรกๆ ก็เลยตั้งชื่อรวม ๆ กันว่า
" พระร่วงนั่ง " พระพิมพ์พระร่วงนั่งของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ถ้ารวมทั้งกรุเก่า
กรุใหม่ จะมีหลากหลายเนื้อด้วยกัน ที่ปรากฏคือ เนื้อชินเงิน เนื้อตะกั่วสนิมแดง
เนื้อดิน และเนื้อสำริด
พระร่วงนั่ง กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เนื้อตะกั่วสนิมแดง พิมพ์นี้ เป็นพระนั่ง
ปางมารวิชัย มีขนาดเล็กกระทัดรัดน่ารัก เหมือน " ตุ๊กตา " มีน้ำหนักเบา เหมาะ
สำหรับขึ้นบูชาคล้องคอ กว้างประมาณ 1.2 ซม. สูงประมาณ 2.5 ซม. องค์พระ
เป็นเนื้อตะกั่วสีแดงแซมไขขาวหนา ครอบคลุมทั่วองค์พระ ส่วนในด้านพุทธคุณ
นั้นพระร่วงนั่งทุกพิมพ์จะมีพุทธคุณเหมือนกัน คือ ทางแคล้วคลาด คงกระพัชาตรี
และโภคทรัพย์ เหมือนกันทุกองค์

อาณาจักรสุโขทัย สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นับเป็นยุคที่บ้านเมืองมี
ความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ทั้งในด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และพระพุทธ
ศาสนา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการจัดสร้างประติมากรรมรูปเคารพต่างๆ รวมทั้งพระ
เครื่องรางของขลัง ซึ่งพบจากกรุต่างๆใน จังหวัดสุโขทัย อย่างมากมาย ซึ่งล้วน
มีความงดงามในรูปแบบศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์
ในส่วนของพระเครื่องจะมีการสร้างด้วยเนื้อต่างๆ อาทิ เนื้อดิน เนื้อสัมฤทธิ์
เนื้อชิน เนื้อตะกั่ว และเนื้อชินเงิน ที่มีการสร้างมากที่สุดและกรุที่พบพระมากที่สุด
ก็คือ กรุวัดเขาพนมเพลิง เมืองศรีสัชนาลัย อันเป็นเมืองเก่า พระกรุนี้แตกออกมา
เมื่อ พ.ศ.2507 มีพระออกจากกรุมากมายนับพันๆองค์ ทำให้ราคาเช่าหาในสมัย
นั้นไม่แพงจนเกินไป สร้างความฮือฮาให้วงการพระเครื่องเป็นอันมาก
พระเนื้อชินเงิน จากกรุนี้สร้างความสนใจให้นักสะสมมาก คือ " พระอู่ทอง
ตะกวน " นับเป็นพระเครื่องพิมพ์เดียวที่ไม่เคยพบจากกรุอื่นใดมาก่อนเลย และ
" พระนางตะกวน " ซึ่งลักษณะพิมพ์ทรงองค์พระเหมือนกับ พระท่ามะปรางค์
พระเนื้อชินเงินกรุนี้มีเอกลักษณ์คือทุกองค์ จะมีคราบผิวปรอทครอบคลุมผิว
พระ และส่วนใหญ่จะมีไม่มีคราบกรุมากนัก เนื่องจากกรุที่พบในองค์เจดีย์มีไห
บรรจุองค์พระอีกชั้นหนึ่ง
คำว่า “ตะกวน” มาจากชื่อของ วัดตะกวน ในกรุงสุโขทัยที่มีการขุดพบพระกรุ
ครั้งแรก ทำให้ทราบว่า ศิลปะยุคแรกๆของสมัยสุโขทัย นั้นมีพุทธศิลป์ตามรูปแบบ
ของพระกรุนี้ ซึ่งเป็นการผสมผสานของศิลปะอู่ทอง เชียงแสน เข้ามาปะปนกับ
ศิลปะสุโขทัยที่ยังไม่มีจุดกำหนดแน่นอน วงการพระจึงเรียก พุทธศิลป์ยุคต้นสมัย
สุโขทัย ว่า ศิลปะสุโขทัยแบบตะกวน โดยการนำเอาชื่อ " วัดตะกวน " ที่ขุดพบ
พระเป็นครั้งแรกมาตั้งชื่อศิลปะยุคแรก ต่อมาช่างสมัยสุโขทัยได้พัฒนาฝีมือดีขึ้น
เรื่อยๆ จนได้ข้อยุติว่าศิลปะสุโขทัย ที่เป็นศิลปะเฉพาะตัวนั้นเป็นอย่างไร ? ก็คือ
ศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ อันอ่อนช้อยงดงามยิ่งดังที่ปรากฏอยู่ในทุกวันนี้
" พระนางตะกวน " หรือถ้าจะเรียกให้เต็มๆก็ต้องว่า " พระนางพญาศิลปะ
สุโขทัย แบบตะกวน " กรุ " วัดเขาพนมเพลิง " ขนาดองค์พระกว้างประมาณ
1.7 ซม. สูงประมาณ 3 ซม. ปัจจุบันนี้นับว่าเป็นของที่หายาก ซึ่งมีพระ
พุทธคุณดี ด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี

ถ้าพูดถึงกรุพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองสุโขทัยแล้ว " วัดมหาธาตุ " ซึ่ง
ตั้งอยู่ในตัวเมืองเก่านับว่าใหญ่กว่าทุกกรุ และก็ที่กรุวัดมหาธาตุนี้เองได้ก่อให้เกิด
ความเข้าใจผิดระหว่างศิลปของพระเครื่องกับนักเลงพระยุคนี้ยิ่งนัก เพราะพระ
เครื่องส่วนหนึ่งที่ขุดพบจากกรุของวัดนี้ ได้มีพระประเภทสร้างล้อเลียนแบบ หรือ
ไม่ก็รับอิทธิพลของศิลปนั้นๆ มาสร้างกันไว้แบบพุทธลักษณะและศิลปะแบบตรงๆ
เลยก็มี
" พระท่ามะปรางของสุโขทัย " เป็นพระที่มีรูปแบบเหมือนกับ " พระท่ามะปราง
ของจังหวัดกำแพงเพชร " และ " พระท่ามะปรางของจังหวัดพิษณุโลก " ผิดกันที่
พระท่ามะปรางของจังหวัดสุโขทัย จะมีรูปร่างเล็กกว่าของเมืองอื่นๆ
พระท่ามะปรางสุโขทัย เป็นศิลปะของสุโขทัยตอนปลาย ขุดพบครั้งแรกที่
" วัดมหาธาตุ " เรียกว่า " พระกรุเก่า " เมื่อประมาณ พ.ศ. 2435 จำนวนพระที่พบมี
จำนวนเล็กน้อยเท่านั้นมีลักษณะของผิวจะดำ หรือเทา บางองค์จะมีรอยระเบิด
ออกมา ต่อมามีการขุดค้นได้ที่กรุ " วัดเจดีย์สูง " และที่ " เขาพนมเพลิง " แต่จะมี
ผิวปรอท และผิวจะสวยงามกว่าของวัดมหาธาตุ พระท่ามะปรางเมืองสุโขทัยจะ
ผิดกับที่จังหวัดอื่นๆ ตรงลักษณะองค์พระแลดูแบบ " เอวบางร่างน้อย " ส่วนด้าน
พระพุทธคุณนั้นมิได้ยิ่งหย่อนกว่าพระท่ามะปรางของเมืองอื่นเลย คือ ดีทางแคล้ว
คลาด และโภคทรัพย์ ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 1.7 ซม. สูงประมาณ 3 ซม.


ต้นกำเนิดของพระท่ามะปรางเป็นแห่งแรกก็คือจังหวัดพิษณุโลก ถือว่าเป็นต้น
แบบของพระท่ามะปรางทั้งหมด จัดเป็นพระที่มีอายุในการสร้างสูงกว่าทุกๆเมือง
และคำว่า " ท่ามะปราง " ก็มาจากการค้นพบที่วัดท่ามะปราง จังหวัดพิษณุโลก
เป็นแห่งแรกนั่นเอง เมืองอื่นๆก็เลยนำชื่อมาตั้งพระที่มีลักษณะเดียวกัน เพราะ
ฉะนั้นคำว่า " พระท่ามะปราง " จึงได้ปรากฎอยู่หลายๆเมืองทั่วเมืองไทย
พระท่ามะปรางที่ถูกขุดพบได้เพียงเมืองเดียวของพิษณุโลก ก็มีการค้นพบด้วย
กันหลายกรุ แต่ที่มีชื่อเสียงและโด่งดังที่สุดคือกรุ " วัดท่ามะปราง " ต้นกำเนิดของ
พระท่ามะปรางเป็นแห่งแรกที่เมืองพิษณุโลกนี้ จนได้รับฉายานามว่า "เงี้ยวทิ้งปืน"
พระที่ถูกค้นพบปรากฎว่าไม่ค่อยสวยงาม เพราะชำรุดและผุกร่อนเป็นส่วนมาก

ในจำนวนพระพิมพ์ " ท่ามะปราง " ทั้งหมด มีพระอยู่พิมพ์หนึ่งที่นับว่าผิดแปลก
และแตกต่างกับพระท่ามะปรางพิมพ์อื่นทั้งหมด คือ พระท่ามะปราง กรุ " วัด
สะตือ " เป็นพระศิลปะแบบ " อู่ทอง " ต่างจากกรุอื่นๆ ซึ่งโดยมากจะเป็นแบบ
" สุโขทัย " เกือบทั้งนั้น พุทธลักษณะเป็นพระนั่งอยู่บนฐานบัว นั่งสะดุ้งมารแบบ
" เข่านอก " ( เห็นหัวเข่าทั้งสองข้าง ) พระหัตถ์ขวาขององค์พระทอดยาวลงมา
ด้านหน้าถึงฐานบัว ที่ค้นพบมีสร้างขึ้นด้วย เนื้อดิน และ เนื้อชินเงิน ขนาดองค์
พระจะมีขนาดใหญ่กว่าของกรุเมืองอื่นๆเล็กน้อย โดยกว้างประมาณ 2.3 ซม. สูง
ประมาณ 3.8 ซม. ส่วนในด้านพุทธคุณ คือยอดเยี่ยมทางแคล้วคลาด เมตตามหา
นิยม และคงกระพันชาตรี

พระพิมพ์รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ของเมืองพิษณุโลกหรือที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า
เมือง " สองแคว " ที่ถูกค้นพบเป็นแบบพระพิมพ์อื่นๆก็มีอีกหลายพิมพ์ " พระท่า
มะปราง " กรุ " เจดีย์ยอดทอง " เป็นพระเครื่องพิมพ์สามเหลี่ยมอีกสกุลหนึ่งที่ถูก
ค้นพบได้อีกเช่นกัน เป็นพระศิลปะสุโขทัยแบบ " วัดตะกวน " พุทธลักษณะนั่งปาง
มารวิชัยอยู่บนฐานบัว จะมีสัญลักษณ์เด่นกว่าพระท่ามะปรางกรุอื่นๆ ในด้านความ
งามที่มีพิมพ์พระ คม ลึก ชัดเจน แม้ว่าองค์พระจะแลดู ต้อ และ เตี้ย กว่า เล็กน้อย
ก็ตาม มีทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน พุทธคุณนั้น ยอดเยี่ยมทางแคล้วคลาด เมตตามหา
นิยม และคงกระพันชาตรี ขนาดองค์พระนั้นเล็กกว่าพระท่ามะปรางพิมพ์อื่นๆเล็ก
น้อย แต่ก็แลดูน่ารักขนาดเหมาะสมพอดีสำหรับบูชาขึ้นคอ โดยกว้างประมาณ 2
ซม. สูงประมาณ 2.5 ซม.

พระที่พบที่อำเภอโนนสูงนั้น พบกันมาหลายครั้ง ทั้งพระเครื่อง พระบูชา
ตลอดจนเทวรูป แต่ที่พบมากที่สุดกว่าทุกครั้ง คือเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2547 ได้
พบพระเครื่องเป็นจำนวนมากประมาณ 200-300 องค์ เ ป็นพระที่สร้างมาจากเนื้อพระที่พบที่อำเภอโนนสูงนั้น พบกันมาหลายครั้ง ทั้งพระเครื่อง พระบูชา
ตลอดจนเทวรูป แต่ที่พบมากที่สุดกว่าทุกครั้ง คือเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2547 ได้
พบพระเครื่องเป็นจำนวนมากประมาณ 200-300 องค์ เ ป็นพระที่สร้างมาจากเนื้อ
ตะกั่ว มีด้วยกันหลายพิมพ์ แต่พิมพ์ที่พบมากที่สุดคือ พิมพ์พระร่วงนั่ง ซึ่งมีขนาด
เล็กกำลังน่ารัก คือมีความกว้างประมาณ 1.8 ซ.ม. และสูงประมาณ 2.5 ซ.ม.เท่า
นั้น เป็นพระนั่งแบบสมาธิ ทรงชีโบ เป็นพระศิลปเขมรยุคต้น เนื้อตะกั่วสนิมแดง
จัด แบบแดงลูกหว้า มีคราบไขมันวาว คลุมทั่วองค์พระพร้อมขี้กรุบางๆที่สวยงาม
นอกจากนั้นยังพบเป็นพิมพ์พระร่วงนั่งแบบมารวิชัย มีทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์
ใหญ่ ที่มีน้อยที่สุดก็คือพิมพ์พระสังกัจจายน์ ปัจจุบันยังเป็นพระที่หาชมได้ น่าจะ
เก็บไว้บูชา เพราะถือว่าเป็นพระดีที่ถึงยุคทั้งหมด เนื้อ อายุ ศิลปะ ด้าน
พุทธคุณนั้น ก็แบบฉบับพระสกุลลพบุรีทั่วๆไป คือสุดยอดทางแคล้วคลาด คง
กระพันชาตรี นั่นเอง
ตะกั่ว มีด้วยกันหลายพิมพ์ แต่พิมพ์ที่พบมากที่สุดคือ พิมพ์พระร่วงนั่ง ซึ่งมีขนาด
เล็กกำลังน่ารัก คือมีความกว้างประมาณ 1.8 ซ.ม. และสูงประมาณ 2.5 ซ.ม.เท่า
นั้น เป็นพระนั่งแบบสมาธิ ทรงชีโบ เป็นพระศิลปเขมรยุคต้น เนื้อตะกั่วสนิมแดง
จัด แบบแดงลูกหว้า มีคราบไขมันวาว คลุมทั่วองค์พระพร้อมขี้กรุบางๆที่สวยงาม
นอกจากนั้นยังพบเป็นพิมพ์พระร่วงนั่งแบบมารวิชัย มีทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ เมืองพิษณุโลก เป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่ขอมมีอำนาจจนไล่มาถึงสมัยสุโขทัย
เพราะฉะนั้นประติมากรรมของขลังต่างๆ จึงมีหลายสมัยรวมกันไม่ว่า ขอม
สุโขทัย อยุธยา ตลอดจนรัตนโกสินทร์ และวัสดุที่ใช้ในการสร้างพระบูชา และ
พระเครื่องของเมืองพิษณุโลก ก็มีวัสดุแทบทุกอย่างในการสร้างไม่ว่า ทองคำ
เงิน ดิน ชิน สำริด