วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2552




พระร่วงนั่งหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม


เป็นพระเนื้อชินเงินบริสุทธิ์ ศิลปะสกุลสุโขทัย แต่บางตำราก็ว่า ศิลปะลังกา ยุคสุโขทัย สกุลช่างศรีสัชนาลัย วัดช้างล้อม อยู่ในจังหวัดสุโขทัย นักเลงพระรุ่นเก่ามักเรียกพระกรุสุโขทัยว่า "พระร่วง" ทั้งสิ้นและให้ความนิยม พระร่วงนั่งหลังลิ่มเสมอด้วย พระร่วงยืนสนิมแดง หลังราวปืนทีเดียว ความนิยมสูงขนาดเอา พระสมเด็จฯ 2 องค์มาแลกก็ไม่ยอม (สมัยก่อนโน้น นะครับท่าน)
สถานที่พบพระร่วงนั่งหลังลิ่ม คือ ที่เจดีย์ วัดช้างล้อม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย (ในอุทยานประวัติศาสตร์) ชายเทือกเขาพนมเพลิงด้านใต้ พระร่วงนั่งมี 2 พิมพ์ คือ ชนิด หลังมีลิ่ม และหลังไม่มีลิ่ม จุดสังเกตของพระร่วงนั่งหลังลิ่ม ที่สำคัญที่สุด คือ ร่องนิ้วมือที่พาดหัวเข่าองค์ไหนไม่มี พึงระวัง ด้านหลัง ต้องเสี้ยนตรงคอยาวสุดสุด ฯลฯ





พระร่วงนั่งหลังลิ่ม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัยโดย จ.ส.อ. เอนก เจกะโพธิ์

พระร่วงนั่งหลังลิ่ม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
พระร่วงนั่งหลังลิ่ม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย•••••••••••••••••••••••••
พระร่วงนั่งหลังลิ่ม นับเป็นพระเครื่องชั้นสูงสุดยอดของอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัยในอดีต เป็นอาณาจักรอันเก่าแก่หรือเมืองหลวงอันสำคัญยิ่ง ของประเทศไทย ปัจจุบันได้รับรองให้เป็นเมืองอุทยานประวัติศาสตร์ มีเอกลักษณ์ประจำเมืองมาแต่ครั้งโบร่ำโบราณนานมาแล้วร่วมพันปี คือนานกว่ากรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ บรรดานักนิยมสะสมพระเก่าพระแท้ในอดีต นิยมพระร่วงนั่งหลังลิ่มกันมากเกือบเท้าพระร่วงยืนสนิมแดงหลังรางปืนเช่นกัน
นักนิยมพระทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ต่างเรียกขานพระกรุสุโขทัยเกือบจะทั้งนั้นว่า พระร่วงแทบทั้งสิ้น เพราะเขาถือตามเอกลักษณ์ลักษณะรูปร่างอันเป็นองค์ประกอบประการ 1 และประการที่ 2 คือเรียกตามลำดับชื่อของพระเจ้าแผ่นดินในสมัยนั้นจนติดปาก คำว่าพระร่วงนั่งมีทั้งสวมหมวกจีโบและไม่สวมหมวกจีโบ สร้างเป็นองค์เดี่ยวๆ ก็มี และบางครั้งก็เรียกตามชื่อกรุ ชื่อพระต่างๆ กันตามความหมายเพื่อสืบความเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว หรือช่างผู้ที่จินตนาการแกะสลักก็ดี หล่อรูปก็ดีปั้นก็ดี ย่อมแสดงเอกลักษณ์ประจำตัวของตัวเองเสมอ เราจึงสามารถอ่านศิลปของพระได้ค่อนข้างจะชัดเจน และถูกต้องกันพอสมควร และในสวรรคโลกนั้นมีกรุอยู่ด้วยกันหลายร้อยหลายพันกรุด้วยกัน
พระร่วงนั่งสุโขทัย มีคู่กับพระร่วงยืน กรุสวรรคโลกและมีพระเจดีย์จำนวนไม่น้อยที่สวรรคโลกมีกรุพระที่ทางการขุดพบบ้าง และผู้ร้ายได้ลักลอบขุดบ้าง ทั้งชนิดเล็กและใหญ่คละเคล้าปะปนกันไปเป็นจำนวนมาก มีพระเนื้อดินก็มาก ชินก็แยะ ตะกั่วสนิมแดงก็มีไม่น้อย (เช่น พระเชตุพนสนิมแดงพิมพ์ใหญ่) และอื่นๆ อีกมาก
พระเจดีย์กรุวัดช้างล้อม ที่อำเภอสวรรคโลก เชิงชายเทือกเขาด้านใต้นั้น ข้าพเจ้าเคยไปถ่ายรูปมาเสียด้วยซ้ำไป แต่น่าเสียดายหาฟิล์มไปพบ ก็ขอบรรยายไปว่า ฐานของพระเจดีย์มีช้างล้อมรอบทั้งที่สมบูรณ์แบบและไม่สมบูรณ์แบบก็มี ขณะนั้นศิลปากรกำลังบูรณะอยู่ มีช้างล้อมมีฐานเจดีย์ (รอยฐานด้านล่าง) ด้านบนเป็นเจดีย์ทรงลังกา ผมจำไม่ผิด ปรียอดของเจดีย์ชำรุด บริเวณเดียวกันมีพระเจดีย์มากมายก่ายกอง ไม่แพ้วัดพระศรีมหาธาตุ หรืออยุธยาบางวัดเลย พระทั้งหมดมีศิลปสุโขทัยเป็นส่วนใหญ่ สังเกตุดูจากภาพพระบูชาขนาดใหญ่
พระร่วงนั่งหลังลิ่ม นักเลงโบราณหรือนักสะสมนักเล่นพระสมัยก่อนนั้นศรัทธาเลื่อมใสสุดขีดเรียกว่าใครมีพระร่วงหลังลิ่มแล้ว นับว่ายอดเยี่ยม สมัยก่อนสมเด็จ 2 องค์ยังแลกกับพระร่วงหลังลิ่ม 1 องค์ก็ไม่ได้ ซึ่งตรงกันข้ามกับสมัยนี้ มีหลังลิ่ม 10 องค์แลกสมเด็จครึ่งองค์ยังไม่ได้ เป็นเรื่องแปลกแหวกแนวที่เราจะต้องคิด พระร่วงนั่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ พระร่วงนั่งหลังลิ่ม และพระร่วงนั่งหลังตัน (พิมพ์ทรงเดียวกัน แต่หลังตันหลังไม่ลิ่ม) เคยฟังมาว่าแถบจังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีพระร่วงหลังไม่ลิ่มเช่นกัน แต่ผู้เขียนพบน้อยมากไม่เกิน 10 องค์ ก็ให้รู้ไว้ว่า มี 2 พิมพ์ทรงคือ ชนิดหลังลิ่มกับหลังไม่ลิ่มก็แล้วกัน
พระร่วงนั่งหลังลิ่มเป็นพระตระกูลช่างศิลปสุโขทัย พระพัตร์แบบอู่ทอง-สุโขทัย กำแพง, อู่ทองสุโขทัย, อู่ทองอยุธยา) ทั้ง 3 อย่างนี้จะมีลักษณะสัณฐานคล้ายคลึงกัน พระร่วงนั่งเป็นพระแบบครึ่งซีก มีหลังตันก็เคยพบเห็น (มีทั้งหลังตันและหลังลิ่ม)


ด้านหน้า
ด้านหลัง
พุทธลักษณะ เป็นพระนั่งปางมารวิชัย หรือปางสะดุ้งมาร (เข่านอก) ประทับนั่งบนฐานเขียงเนื้อเป็นเนื้อชินเงิน นั่งแบบลอยองค์ มีลักษณะโดยทั่วๆ ไปได้แก่
พระพัตร์ จะกลมแลดูเกือบป้อม พระหนุมนจนเกือบจะเป็นคางคน(คางเหลี่ยม)
พระเกศ คล้ายมีฝาชีครอบเหนือเมาลี เรียกว่าทรงจีโบ(ทรงกรวย)
กรอบไรพระศก์ เป็นเส้นลาดนูน (คล้ายเกลียวลวด) พระเกศเรียวคล้ายยอดพระเจดีย์เป็นชั้นๆ
ลำพระองค์ สูงชลูดแต่มีลักษณะกลมกลืนกัน
สังฆาฎิที่พาด ปรากฏอยู่เหนือราวนม
ด้านหลัง เป็นรอยเว้าตามองค์พระ ด้านบนจะตัดเกือบเสมอพระอังสา(บ่า) เราเรียกแม่พิมพ์ด้านหลังนี้ว่า แม่พิมพ์ตัวเมีย (ส่วนแม่พิมพ์ด้านหน้าเราเรียกว่า แม่พิมพ์ตัวผู้ ข้อสำคัญที่เราสังเกตพิมพ์ด้านหลังให้จำไว้ง่ายๆ คือ จะมีรอยเส้นไม่เรียบร้อยเป็นเส้นๆ มีเส้นใหญ่และเส้นเล็กโปรดสังเกตของจริง และพระศอ (คอ) จะบางที่สุด จึงเปราะและหักง่ายมาก หาความสมบูรณ์แบบได้ยากยิ่ง ที่จดจำที่บอกนี้อาจจะยังไม่เป็นข้อยุติได้ต้องศึกษาอีกมาก ปัจจุบันมีปรากฏว่าของปลอมโดนกันคนละหลายตุ๊บ ไม่ว่าจะเป็นดินกรุ, สนิมกรุ, สนิมไข, รอยราน, รอยปริระเบิด, ใกล้เคียงธรรมชาติแท้ๆ









ไม่มีความคิดเห็น: