วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552



ต้นกำเนิดของพระท่ามะปรางเป็นแห่งแรกก็คือจังหวัดพิษณุโลก ถือว่าเป็นต้น
แบบของพระท่ามะปรางทั้งหมด จัดเป็นพระที่มีอายุในการสร้างสูงกว่าทุกๆเมือง
และคำว่า " ท่ามะปราง " ก็มาจากการค้นพบที่วัดท่ามะปราง จังหวัดพิษณุโลก
เป็นแห่งแรกนั่นเอง เมืองอื่นๆก็เลยนำชื่อมาตั้งพระที่มีลักษณะเดียวกัน เพราะ
ฉะนั้นคำว่า " พระท่ามะปราง " จึงได้ปรากฎอยู่หลายๆเมืองทั่วเมืองไทย
พระท่ามะปรางที่ถูกขุดพบได้เพียงเมืองเดียวของพิษณุโลก ก็มีการค้นพบด้วย
กันหลายกรุ แต่ที่มีชื่อเสียงและโด่งดังที่สุดคือกรุ " วัดท่ามะปราง " ต้นกำเนิดของ
พระท่ามะปรางเป็นแห่งแรกที่เมืองพิษณุโลกนี้ จนได้รับฉายานามว่า "เงี้ยวทิ้งปืน"
พระที่ถูกค้นพบปรากฎว่าไม่ค่อยสวยงาม เพราะชำรุดและผุกร่อนเป็นส่วนมาก

ในจำนวนพระพิมพ์ " ท่ามะปราง " ทั้งหมด มีพระอยู่พิมพ์หนึ่งที่นับว่าผิดแปลก
และแตกต่างกับพระท่ามะปรางพิมพ์อื่นทั้งหมด คือ พระท่ามะปราง กรุ " วัด
สะตือ " เป็นพระศิลปะแบบ " อู่ทอง " ต่างจากกรุอื่นๆ ซึ่งโดยมากจะเป็นแบบ
" สุโขทัย " เกือบทั้งนั้น พุทธลักษณะเป็นพระนั่งอยู่บนฐานบัว นั่งสะดุ้งมารแบบ
" เข่านอก " ( เห็นหัวเข่าทั้งสองข้าง ) พระหัตถ์ขวาขององค์พระทอดยาวลงมา
ด้านหน้าถึงฐานบัว ที่ค้นพบมีสร้างขึ้นด้วย เนื้อดิน และ เนื้อชินเงิน ขนาดองค์
พระจะมีขนาดใหญ่กว่าของกรุเมืองอื่นๆเล็กน้อย โดยกว้างประมาณ 2.3 ซม. สูง
ประมาณ 3.8 ซม. ส่วนในด้านพุทธคุณ คือยอดเยี่ยมทางแคล้วคลาด เมตตามหา
นิยม และคงกระพันชาตรี

ไม่มีความคิดเห็น: