วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2552

ตัวอย่างพระกรุเมื่อสุพรรณ เช่น พระกรุบ้านละหาน สถานที่พบ คือ บ้านละหาน อยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ที่ ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ ห่างจากวัดบ้านกร่างไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๓ กิโลเมตร เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓ ชาวบ้านขุดดินใต้ถุนเรือน และพบพระเครื่องประมาณ ๒,๐๐๐ องค์ ซึ่งมีทั้งพระร่วงและพระนาคปรก พระกรุนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง มีสนิมแซมไขบ้าง มีชื่อเสียงมากทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี
พระกรุบ้านหัวเกาะ สถานที่พบ คือ บ้านหัวเกาะ ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน ที่ ต.สนามชัย หรือ ต.วิหารแดงเดิม อ.เมือง เหนือวัดลาวทองไปประมาณ ๑๐๐ เมตร เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐ ชาวบ้านขุดพบไหบรรจุพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดง ประมาณ ๔,๐๐๐ องค์ และถือว่าเป็นพระที่มีเนื้อสนิมแดงจัดกว่าพระสนิมแดงทุกกรุ ในสุพรรณบุรี พระกรุนี้สันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงลพบุรีต่อกับสมัยอู่ทอง มีพุทธคุณโดดเด่นในด้านอยู่ยงคงกระพัน
พระกรุวัดลาวทอง สถานที่พบ คือ วัดลาวทอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน และเหนือตลาด จ.สุพรรณบุรี ที่ ต.สนามไชย อ.เมือง เดิมชื่อ วัดเลา ต่อมาเพี้ยนเป็น ลาวทอง เพื่อให้สอดคล้องตามวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน วัดลาวทอง เป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยลพบุรีตอนปลาย หรืออู่ทองตอนต้น ในบริเวณวัด พบฐานพระอุโบสถและเจดีย์ร้างหลายองค์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ ชาวบ้านข้างวัด ขุดดินเพื่อปลูกบ้าน พบโอ่งซึ่งภายในบรรจุพระเครื่อง พระบูชา เป็นจำนวนมาก สำหรับพระเครื่องนั้นส่วนใหญ่เป็นพระร่วง ซึ่งมีอยู่หลายพิมพ์
พระกรุสองพี่น้อง หรือ บางลี่ สถานที่พบ คือ อ.อู่ทอง ที่บ้านหุบระฆัง ต.บางลี่ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ชาวบ้านเรียกบริเวณที่พบกรุว่า เนินวิหาร เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓ นายอำเภอสองพี่น้องได้ส่งรถเกรดไปไถดิน ตามเส้นทางโบราณ เพื่อทำถนน พบไหพระเครื่องฝังอยู่ใต้ดิน ต่อมามีคนพบไหเช่นเดียวกันในบริเวณนั้น และมีพระพิมพ์บรรจุอยู่ประมาณ ๒,๐๐๐ องค์ พระที่พบจากกรุงสองพี่น้องส่วนใหญ่เป็นพระร่วงประทับยืน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอู่ทองต่อกับลพบุรี
พระกรุวัดคูบัว สถานที่พบ คือ วัดคูบัว ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านแหลม อ.บางปลาม้า เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ มีการขนอิฐจากเนินดินที่อยู่ห่างวัดประมาณ ๑ กิโลเมตร เพื่อนำไปสร้างอุโบสถ จึงพบกรุพระเครื่องบูชา ซึ่งมีลักษณะเป็นพระร่วงประทับยืนเป็นจำนวนมาก มีพุทธคุณทางแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี รุวัดปู่บัว สถานที่พบ คือ วัดปู่บัว ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสุพรรณ ที่ ต.สนามไชย อ.เมือง ซึ่งอยู่เลยตลาด จ.สุพรรณบุรี ไปทางทิศเหนือประมาณ ๕ กิโลเมตร เล่ากันว่า เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๗๖ พระอาจารย์ใย เจ้าอาวาสวัดปู่บัวในเวลานั้น ขุดดินเพื่อสร้างถนนภายในวัด พบกรุพระพุทธรูปหินทรายเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีพระเครื่องพระบูชา บรรจุอยู่ในไหประมาณ ๕๐๐ องค์ ทั้งหมดเป็นพระร่วงเนื้อตะกั่วสีแดงเข้ม ประทับยืนประทานพร มีหลายพิมพ์ พระพิมพ์เศียรโต จากกรุวัดปู่บัว ปัจจุบันมีราคาเช่าสูงกว่าพระร่วงกรุวัดปู่บัว ทุกพิมพ์ แต่ทุกพิมพ์ก็มีพุทธคุณด้านคงกระพันชาตรีเช่นเดียวกัน
พระกรุบ้านดอนคา สถานที่พบ คือ บ้านดอนคา ตั้งอยู่ที่ อ.อู่ทอง พระเครื่องของกรุนี้เป็นพระพิมพ์นาคปรก สมัยลพบุรี มีเอกลักษณะเฉพาะตัว คือ เป็นพระประทับนั่งบนขนดนาค ๕ เศียร และพบเพียงพิมพ์เดียว เนื้อตะกั่วสนิมแดง
พระนาคปรก กรุบ้านดอนคา จัดว่าเป็นพระที่หายาก การเช่าหาอยู่ในราคาสูง พุทธคุณยอดเยี่ยมทางแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี พระพิมพ์นี้เคยมีผู้พบที่วัดมหาธาตุ จ.ลพบุรี แต่มีจำนวนน้อยมาก
พระกรุวัดชุมนุมสงฆ์ สถานที่พบ คือ วัดชุมนุมสงฆ์ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ที่ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง เป็นวัดโบราณเก่าแก่อีกวัดหนึ่งของสุพรรณบุรี เล่ากันว่า เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ เจดีย์องค์ประธานของวัดถูกลักลอบขุด ผู้ร้ายได้พระบูชาและพระเครื่องไปเป็นจำนวนมาก
ต่อมาจังหวัดขุดกรุดังกล่าวพบพระเครื่องเนื้อชินเงิน ฉาบด้วยผิวปรอทขาว จำนวน ๔,๒๕๐ องค์ พระกำแพงศอก ๑๐ องค์ และพระบูชาอีก ๒ องค์
พระกรุวัดการ้อง สถานที่พบ คือ วัดการ้องเดิม ชื่อวัดแร้ง ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของเจดีย์วัดสนามไชย ที่ ต.สนามไชย อ.เมือง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ มีผู้ขุดพบพระเครื่องปางลีลาเนื้อชินเงินฉาบด้วยผิวปรอทขาว มี ๓ พิมพ์ เป็นที่เชื่อถือกันว่ามีพระพุทธคุณทางด้านความเจริญก้าวหน้า และโภคทรัพย์ สถานที่พบ คือ วัดชุมนุมสงฆ์ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ที่ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง เป็นวัดโบราณเก่าแก่อีกวัดหนึ่งของสุพรรณบุรี เล่ากันว่า เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ เจดีย์องค์ประธานของวัดถูกลักลอบขุด ผู้ร้ายได้พระบูชาและพระเครื่องไปเป็นจำนวนมาก
ต่อมาจังหวัดขุดกรุดังกล่าวพบพระเครื่องเนื้อชินเงิน ฉาบด้วยผิวปรอทขาว จำนวน ๔,๒๕๐ องค์ พระกำแพงศอก ๑๐ องค์ และพระบูชาอีก ๒ องค์
พระกรุวัดการ้อง สถานที่พบ คือ วัดการ้องเดิม ชื่อวัดแร้ง ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของเจดีย์วัดสนามไชย ที่ ต.สนามไชย อ.เมือง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ มีผู้ขุดพบพระเครื่องปางลีลาเนื้อชินเงินฉาบด้วยผิวปรอทขาว มี ๓ พิมพ์ เป็นที่เชื่อถือกันว่ามีพระพุทธคุณทางด้านความเจริญก้าวหน้า และโภคทรัพย์

ไม่มีความคิดเห็น: