วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552


วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จัดว่าเป็นวัดที่มีการพบพระเครื่องเป็นจำนวนมาก และ
มากที่สุดกว่าทุกวัดที่พบพระ เรียกว่ามีมากจำนวน 3 ใน 4 ของพระที่พบทั้งหมดใน
จังหวัดลพบุรีเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นพระร่วงนั่งที่พบในกรุนี้จึงมีปรากฏอยู่หลาย
พิมพ์และมีหลายแบบด้วยกัน ถ้าจะเรียกชื่อแยกแต่ละพิมพ์แล้วก็ยากต่อการที่จะ
ตั้งชื่อพระแต่ละพิมพ์ นักสะสมพระเครื่องรุ่นแรกๆ ก็เลยตั้งชื่อรวม ๆ กันว่า
" พระร่วงนั่ง " พระพิมพ์พระร่วงนั่งของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ถ้ารวมทั้งกรุเก่า
กรุใหม่ จะมีหลากหลายเนื้อด้วยกัน ที่ปรากฏคือ เนื้อชินเงิน เนื้อตะกั่วสนิมแดง
เนื้อดิน และเนื้อสำริด
พระร่วงนั่ง กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เนื้อตะกั่วสนิมแดง พิมพ์นี้ เป็นพระนั่ง
ปางมารวิชัย มีขนาดเล็กกระทัดรัดน่ารัก เหมือน " ตุ๊กตา " มีน้ำหนักเบา เหมาะ
สำหรับขึ้นบูชาคล้องคอ กว้างประมาณ 1.2 ซม. สูงประมาณ 2.5 ซม. องค์พระ
เป็นเนื้อตะกั่วสีแดงแซมไขขาวหนา ครอบคลุมทั่วองค์พระ ส่วนในด้านพุทธคุณ
นั้นพระร่วงนั่งทุกพิมพ์จะมีพุทธคุณเหมือนกัน คือ ทางแคล้วคลาด คงกระพัชาตรี
และโภคทรัพย์ เหมือนกันทุกองค์

ไม่มีความคิดเห็น: