วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552


อาณาจักรสุโขทัย สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นับเป็นยุคที่บ้านเมืองมี
ความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ทั้งในด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และพระพุทธ
ศาสนา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการจัดสร้างประติมากรรมรูปเคารพต่างๆ รวมทั้งพระ
เครื่องรางของขลัง ซึ่งพบจากกรุต่างๆใน จังหวัดสุโขทัย อย่างมากมาย ซึ่งล้วน
มีความงดงามในรูปแบบศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์
ในส่วนของพระเครื่องจะมีการสร้างด้วยเนื้อต่างๆ อาทิ เนื้อดิน เนื้อสัมฤทธิ์
เนื้อชิน เนื้อตะกั่ว และเนื้อชินเงิน ที่มีการสร้างมากที่สุดและกรุที่พบพระมากที่สุด
ก็คือ กรุวัดเขาพนมเพลิง เมืองศรีสัชนาลัย อันเป็นเมืองเก่า พระกรุนี้แตกออกมา
เมื่อ พ.ศ.2507 มีพระออกจากกรุมากมายนับพันๆองค์ ทำให้ราคาเช่าหาในสมัย
นั้นไม่แพงจนเกินไป สร้างความฮือฮาให้วงการพระเครื่องเป็นอันมาก
พระเนื้อชินเงิน จากกรุนี้สร้างความสนใจให้นักสะสมมาก คือ " พระอู่ทอง
ตะกวน " นับเป็นพระเครื่องพิมพ์เดียวที่ไม่เคยพบจากกรุอื่นใดมาก่อนเลย และ
" พระนางตะกวน " ซึ่งลักษณะพิมพ์ทรงองค์พระเหมือนกับ พระท่ามะปรางค์
พระเนื้อชินเงินกรุนี้มีเอกลักษณ์คือทุกองค์ จะมีคราบผิวปรอทครอบคลุมผิว
พระ และส่วนใหญ่จะมีไม่มีคราบกรุมากนัก เนื่องจากกรุที่พบในองค์เจดีย์มีไห
บรรจุองค์พระอีกชั้นหนึ่ง
คำว่า “ตะกวน” มาจากชื่อของ วัดตะกวน ในกรุงสุโขทัยที่มีการขุดพบพระกรุ
ครั้งแรก ทำให้ทราบว่า ศิลปะยุคแรกๆของสมัยสุโขทัย นั้นมีพุทธศิลป์ตามรูปแบบ
ของพระกรุนี้ ซึ่งเป็นการผสมผสานของศิลปะอู่ทอง เชียงแสน เข้ามาปะปนกับ
ศิลปะสุโขทัยที่ยังไม่มีจุดกำหนดแน่นอน วงการพระจึงเรียก พุทธศิลป์ยุคต้นสมัย
สุโขทัย ว่า ศิลปะสุโขทัยแบบตะกวน โดยการนำเอาชื่อ " วัดตะกวน " ที่ขุดพบ
พระเป็นครั้งแรกมาตั้งชื่อศิลปะยุคแรก ต่อมาช่างสมัยสุโขทัยได้พัฒนาฝีมือดีขึ้น
เรื่อยๆ จนได้ข้อยุติว่าศิลปะสุโขทัย ที่เป็นศิลปะเฉพาะตัวนั้นเป็นอย่างไร ? ก็คือ
ศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ อันอ่อนช้อยงดงามยิ่งดังที่ปรากฏอยู่ในทุกวันนี้
" พระนางตะกวน " หรือถ้าจะเรียกให้เต็มๆก็ต้องว่า " พระนางพญาศิลปะ
สุโขทัย แบบตะกวน " กรุ " วัดเขาพนมเพลิง " ขนาดองค์พระกว้างประมาณ
1.7 ซม. สูงประมาณ 3 ซม. ปัจจุบันนี้นับว่าเป็นของที่หายาก ซึ่งมีพระ
พุทธคุณดี ด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี

ไม่มีความคิดเห็น: