วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552


ถ้าพูดถึงกรุพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองสุโขทัยแล้ว " วัดมหาธาตุ " ซึ่ง
ตั้งอยู่ในตัวเมืองเก่านับว่าใหญ่กว่าทุกกรุ และก็ที่กรุวัดมหาธาตุนี้เองได้ก่อให้เกิด
ความเข้าใจผิดระหว่างศิลปของพระเครื่องกับนักเลงพระยุคนี้ยิ่งนัก เพราะพระ
เครื่องส่วนหนึ่งที่ขุดพบจากกรุของวัดนี้ ได้มีพระประเภทสร้างล้อเลียนแบบ หรือ
ไม่ก็รับอิทธิพลของศิลปนั้นๆ มาสร้างกันไว้แบบพุทธลักษณะและศิลปะแบบตรงๆ
เลยก็มี
" พระท่ามะปรางของสุโขทัย " เป็นพระที่มีรูปแบบเหมือนกับ " พระท่ามะปราง
ของจังหวัดกำแพงเพชร " และ " พระท่ามะปรางของจังหวัดพิษณุโลก " ผิดกันที่
พระท่ามะปรางของจังหวัดสุโขทัย จะมีรูปร่างเล็กกว่าของเมืองอื่นๆ
พระท่ามะปรางสุโขทัย เป็นศิลปะของสุโขทัยตอนปลาย ขุดพบครั้งแรกที่
" วัดมหาธาตุ " เรียกว่า " พระกรุเก่า " เมื่อประมาณ พ.ศ. 2435 จำนวนพระที่พบมี
จำนวนเล็กน้อยเท่านั้นมีลักษณะของผิวจะดำ หรือเทา บางองค์จะมีรอยระเบิด
ออกมา ต่อมามีการขุดค้นได้ที่กรุ " วัดเจดีย์สูง " และที่ " เขาพนมเพลิง " แต่จะมี
ผิวปรอท และผิวจะสวยงามกว่าของวัดมหาธาตุ พระท่ามะปรางเมืองสุโขทัยจะ
ผิดกับที่จังหวัดอื่นๆ ตรงลักษณะองค์พระแลดูแบบ " เอวบางร่างน้อย " ส่วนด้าน
พระพุทธคุณนั้นมิได้ยิ่งหย่อนกว่าพระท่ามะปรางของเมืองอื่นเลย คือ ดีทางแคล้ว
คลาด และโภคทรัพย์ ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 1.7 ซม. สูงประมาณ 3 ซม.

ไม่มีความคิดเห็น: