วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552




พระร่วงยืน
หลังลายผ้า เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แตกกรุออกมาครั้งแรก
เมื่อประมาณ 120 ปีที่ผ่านมา ประมาณ พ.ศ. 2430 อายุของพระพิมพ์นี้ประมาณ
มากกว่า 800 ปีมาแล้ว ขอมสร้างตอนเมืองลพบุรีตกอยู่ภายในการปกครองของ
ขอม ซึ่งตอนนั้นเรียกเมืองลพบุรี ว่าเมืองละโว้ เป็นพระปางยืนประทานพร ศิลปะ
เขมร ยุคบายน ศิลปะขององค์พระอลังการเป็นอย่างมาก นับเป็นต้นสกุลพระร่วง
เนื้อตะกั่วสนิมแดงทั้งหมด ช่างศิลปะแห่งกรุงละโว้ได้ให้จินตนาการไว้อลังการ
ด้วยสุดยอดพุทธลักษณะ แสดงออกทางด้านกายวิภาคและเข้าถึงอารมณ์ได้
อย่างเยี่ยมยอดเป็นที่ประทับใจแด่ผู้พบเห็น ได้ราวกับองค์พระมีชีวิตทีเดียวเมื่อ
มองด้วยสายตา พระพุทธคุณนั้นเป็นพระเครื่องที่ยิ่งยงและเพียบพร้อมความขลัง
ไว้ทุกด้่าน ด้วยเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน และมหาอุตม์ นับเป็น
ยอดของขลังชั้นนำในระดับประเทศ ถูกบรรจุอยู่ในชุด " ยอดขุนพล " ที่หายาก
ที่สุด เป็นพระชั้นนำของลพบุรี ที่มีอายุสูงกว่าพระร่วง " หลังรางปืน " ของ
สวรรคโลก ขนาดองค์พระนั้น กว้างประมาณ 2.2 ซม. สูงประมาณ 7.7 ซม.
จัดเป็น " จักรพรรดิผิวแดง " แห่งกรุงละโว้ องค์ปฐมฤกษ์ของลพบุรี

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จัดว่าเป็นวัดที่มีการพบพระเครื่องเป็นจำนวนมาก และ
มากที่สุดกว่าทุกวัดที่พบพระ เรียกว่ามีมากจำนวน 3 ใน 4 ของพระที่พบทั้งหมดใน
จังหวัดลพบุรีเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นพระร่วงนั่งที่พบในกรุนี้จึงมีปรากฏอยู่หลาย
พิมพ์และมีหลายแบบด้วยกัน ถ้าจะเรียกชื่อแยกแต่ละพิมพ์แล้วก็ยากต่อการที่จะ
ตั้งชื่อพระแต่ละพิมพ์ นักสะสมพระเครื่องรุ่นแรกๆ ก็เลยตั้งชื่อรวม ๆ กันว่า
" พระร่วงนั่ง " พระพิมพ์พระร่วงนั่งของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ถ้ารวมทั้งกรุเก่า
กรุใหม่ จะมีหลากหลายเนื้อด้วยกัน ที่ปรากฏคือ เนื้อชินเงิน เนื้อตะกั่วสนิมแดง
เนื้อดิน และเนื้อสำริด
พระร่วงนั่ง กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เนื้อตะกั่วสนิมแดง พิมพ์นี้ เป็นพระนั่ง
ปางมารวิชัย มีขนาดเล็กกระทัดรัดน่ารัก เหมือน " ตุ๊กตา " มีน้ำหนักเบา เหมาะ
สำหรับขึ้นบูชาคล้องคอ กว้างประมาณ 1.2 ซม. สูงประมาณ 2.5 ซม. องค์พระ
เป็นเนื้อตะกั่วสีแดงแซมไขขาวหนา ครอบคลุมทั่วองค์พระ ส่วนในด้านพุทธคุณ
นั้นพระร่วงนั่งทุกพิมพ์จะมีพุทธคุณเหมือนกัน คือ ทางแคล้วคลาด คงกระพัชาตรี
และโภคทรัพย์ เหมือนกันทุกองค์

อาณาจักรสุโขทัย สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นับเป็นยุคที่บ้านเมืองมี
ความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ทั้งในด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และพระพุทธ
ศาสนา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการจัดสร้างประติมากรรมรูปเคารพต่างๆ รวมทั้งพระ
เครื่องรางของขลัง ซึ่งพบจากกรุต่างๆใน จังหวัดสุโขทัย อย่างมากมาย ซึ่งล้วน
มีความงดงามในรูปแบบศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์
ในส่วนของพระเครื่องจะมีการสร้างด้วยเนื้อต่างๆ อาทิ เนื้อดิน เนื้อสัมฤทธิ์
เนื้อชิน เนื้อตะกั่ว และเนื้อชินเงิน ที่มีการสร้างมากที่สุดและกรุที่พบพระมากที่สุด
ก็คือ กรุวัดเขาพนมเพลิง เมืองศรีสัชนาลัย อันเป็นเมืองเก่า พระกรุนี้แตกออกมา
เมื่อ พ.ศ.2507 มีพระออกจากกรุมากมายนับพันๆองค์ ทำให้ราคาเช่าหาในสมัย
นั้นไม่แพงจนเกินไป สร้างความฮือฮาให้วงการพระเครื่องเป็นอันมาก
พระเนื้อชินเงิน จากกรุนี้สร้างความสนใจให้นักสะสมมาก คือ " พระอู่ทอง
ตะกวน " นับเป็นพระเครื่องพิมพ์เดียวที่ไม่เคยพบจากกรุอื่นใดมาก่อนเลย และ
" พระนางตะกวน " ซึ่งลักษณะพิมพ์ทรงองค์พระเหมือนกับ พระท่ามะปรางค์
พระเนื้อชินเงินกรุนี้มีเอกลักษณ์คือทุกองค์ จะมีคราบผิวปรอทครอบคลุมผิว
พระ และส่วนใหญ่จะมีไม่มีคราบกรุมากนัก เนื่องจากกรุที่พบในองค์เจดีย์มีไห
บรรจุองค์พระอีกชั้นหนึ่ง
คำว่า “ตะกวน” มาจากชื่อของ วัดตะกวน ในกรุงสุโขทัยที่มีการขุดพบพระกรุ
ครั้งแรก ทำให้ทราบว่า ศิลปะยุคแรกๆของสมัยสุโขทัย นั้นมีพุทธศิลป์ตามรูปแบบ
ของพระกรุนี้ ซึ่งเป็นการผสมผสานของศิลปะอู่ทอง เชียงแสน เข้ามาปะปนกับ
ศิลปะสุโขทัยที่ยังไม่มีจุดกำหนดแน่นอน วงการพระจึงเรียก พุทธศิลป์ยุคต้นสมัย
สุโขทัย ว่า ศิลปะสุโขทัยแบบตะกวน โดยการนำเอาชื่อ " วัดตะกวน " ที่ขุดพบ
พระเป็นครั้งแรกมาตั้งชื่อศิลปะยุคแรก ต่อมาช่างสมัยสุโขทัยได้พัฒนาฝีมือดีขึ้น
เรื่อยๆ จนได้ข้อยุติว่าศิลปะสุโขทัย ที่เป็นศิลปะเฉพาะตัวนั้นเป็นอย่างไร ? ก็คือ
ศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ อันอ่อนช้อยงดงามยิ่งดังที่ปรากฏอยู่ในทุกวันนี้
" พระนางตะกวน " หรือถ้าจะเรียกให้เต็มๆก็ต้องว่า " พระนางพญาศิลปะ
สุโขทัย แบบตะกวน " กรุ " วัดเขาพนมเพลิง " ขนาดองค์พระกว้างประมาณ
1.7 ซม. สูงประมาณ 3 ซม. ปัจจุบันนี้นับว่าเป็นของที่หายาก ซึ่งมีพระ
พุทธคุณดี ด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี

ถ้าพูดถึงกรุพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองสุโขทัยแล้ว " วัดมหาธาตุ " ซึ่ง
ตั้งอยู่ในตัวเมืองเก่านับว่าใหญ่กว่าทุกกรุ และก็ที่กรุวัดมหาธาตุนี้เองได้ก่อให้เกิด
ความเข้าใจผิดระหว่างศิลปของพระเครื่องกับนักเลงพระยุคนี้ยิ่งนัก เพราะพระ
เครื่องส่วนหนึ่งที่ขุดพบจากกรุของวัดนี้ ได้มีพระประเภทสร้างล้อเลียนแบบ หรือ
ไม่ก็รับอิทธิพลของศิลปนั้นๆ มาสร้างกันไว้แบบพุทธลักษณะและศิลปะแบบตรงๆ
เลยก็มี
" พระท่ามะปรางของสุโขทัย " เป็นพระที่มีรูปแบบเหมือนกับ " พระท่ามะปราง
ของจังหวัดกำแพงเพชร " และ " พระท่ามะปรางของจังหวัดพิษณุโลก " ผิดกันที่
พระท่ามะปรางของจังหวัดสุโขทัย จะมีรูปร่างเล็กกว่าของเมืองอื่นๆ
พระท่ามะปรางสุโขทัย เป็นศิลปะของสุโขทัยตอนปลาย ขุดพบครั้งแรกที่
" วัดมหาธาตุ " เรียกว่า " พระกรุเก่า " เมื่อประมาณ พ.ศ. 2435 จำนวนพระที่พบมี
จำนวนเล็กน้อยเท่านั้นมีลักษณะของผิวจะดำ หรือเทา บางองค์จะมีรอยระเบิด
ออกมา ต่อมามีการขุดค้นได้ที่กรุ " วัดเจดีย์สูง " และที่ " เขาพนมเพลิง " แต่จะมี
ผิวปรอท และผิวจะสวยงามกว่าของวัดมหาธาตุ พระท่ามะปรางเมืองสุโขทัยจะ
ผิดกับที่จังหวัดอื่นๆ ตรงลักษณะองค์พระแลดูแบบ " เอวบางร่างน้อย " ส่วนด้าน
พระพุทธคุณนั้นมิได้ยิ่งหย่อนกว่าพระท่ามะปรางของเมืองอื่นเลย คือ ดีทางแคล้ว
คลาด และโภคทรัพย์ ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 1.7 ซม. สูงประมาณ 3 ซม.


ต้นกำเนิดของพระท่ามะปรางเป็นแห่งแรกก็คือจังหวัดพิษณุโลก ถือว่าเป็นต้น
แบบของพระท่ามะปรางทั้งหมด จัดเป็นพระที่มีอายุในการสร้างสูงกว่าทุกๆเมือง
และคำว่า " ท่ามะปราง " ก็มาจากการค้นพบที่วัดท่ามะปราง จังหวัดพิษณุโลก
เป็นแห่งแรกนั่นเอง เมืองอื่นๆก็เลยนำชื่อมาตั้งพระที่มีลักษณะเดียวกัน เพราะ
ฉะนั้นคำว่า " พระท่ามะปราง " จึงได้ปรากฎอยู่หลายๆเมืองทั่วเมืองไทย
พระท่ามะปรางที่ถูกขุดพบได้เพียงเมืองเดียวของพิษณุโลก ก็มีการค้นพบด้วย
กันหลายกรุ แต่ที่มีชื่อเสียงและโด่งดังที่สุดคือกรุ " วัดท่ามะปราง " ต้นกำเนิดของ
พระท่ามะปรางเป็นแห่งแรกที่เมืองพิษณุโลกนี้ จนได้รับฉายานามว่า "เงี้ยวทิ้งปืน"
พระที่ถูกค้นพบปรากฎว่าไม่ค่อยสวยงาม เพราะชำรุดและผุกร่อนเป็นส่วนมาก

ในจำนวนพระพิมพ์ " ท่ามะปราง " ทั้งหมด มีพระอยู่พิมพ์หนึ่งที่นับว่าผิดแปลก
และแตกต่างกับพระท่ามะปรางพิมพ์อื่นทั้งหมด คือ พระท่ามะปราง กรุ " วัด
สะตือ " เป็นพระศิลปะแบบ " อู่ทอง " ต่างจากกรุอื่นๆ ซึ่งโดยมากจะเป็นแบบ
" สุโขทัย " เกือบทั้งนั้น พุทธลักษณะเป็นพระนั่งอยู่บนฐานบัว นั่งสะดุ้งมารแบบ
" เข่านอก " ( เห็นหัวเข่าทั้งสองข้าง ) พระหัตถ์ขวาขององค์พระทอดยาวลงมา
ด้านหน้าถึงฐานบัว ที่ค้นพบมีสร้างขึ้นด้วย เนื้อดิน และ เนื้อชินเงิน ขนาดองค์
พระจะมีขนาดใหญ่กว่าของกรุเมืองอื่นๆเล็กน้อย โดยกว้างประมาณ 2.3 ซม. สูง
ประมาณ 3.8 ซม. ส่วนในด้านพุทธคุณ คือยอดเยี่ยมทางแคล้วคลาด เมตตามหา
นิยม และคงกระพันชาตรี

พระพิมพ์รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ของเมืองพิษณุโลกหรือที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า
เมือง " สองแคว " ที่ถูกค้นพบเป็นแบบพระพิมพ์อื่นๆก็มีอีกหลายพิมพ์ " พระท่า
มะปราง " กรุ " เจดีย์ยอดทอง " เป็นพระเครื่องพิมพ์สามเหลี่ยมอีกสกุลหนึ่งที่ถูก
ค้นพบได้อีกเช่นกัน เป็นพระศิลปะสุโขทัยแบบ " วัดตะกวน " พุทธลักษณะนั่งปาง
มารวิชัยอยู่บนฐานบัว จะมีสัญลักษณ์เด่นกว่าพระท่ามะปรางกรุอื่นๆ ในด้านความ
งามที่มีพิมพ์พระ คม ลึก ชัดเจน แม้ว่าองค์พระจะแลดู ต้อ และ เตี้ย กว่า เล็กน้อย
ก็ตาม มีทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน พุทธคุณนั้น ยอดเยี่ยมทางแคล้วคลาด เมตตามหา
นิยม และคงกระพันชาตรี ขนาดองค์พระนั้นเล็กกว่าพระท่ามะปรางพิมพ์อื่นๆเล็ก
น้อย แต่ก็แลดูน่ารักขนาดเหมาะสมพอดีสำหรับบูชาขึ้นคอ โดยกว้างประมาณ 2
ซม. สูงประมาณ 2.5 ซม.

พระที่พบที่อำเภอโนนสูงนั้น พบกันมาหลายครั้ง ทั้งพระเครื่อง พระบูชา
ตลอดจนเทวรูป แต่ที่พบมากที่สุดกว่าทุกครั้ง คือเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2547 ได้
พบพระเครื่องเป็นจำนวนมากประมาณ 200-300 องค์ เ ป็นพระที่สร้างมาจากเนื้อพระที่พบที่อำเภอโนนสูงนั้น พบกันมาหลายครั้ง ทั้งพระเครื่อง พระบูชา
ตลอดจนเทวรูป แต่ที่พบมากที่สุดกว่าทุกครั้ง คือเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2547 ได้
พบพระเครื่องเป็นจำนวนมากประมาณ 200-300 องค์ เ ป็นพระที่สร้างมาจากเนื้อ
ตะกั่ว มีด้วยกันหลายพิมพ์ แต่พิมพ์ที่พบมากที่สุดคือ พิมพ์พระร่วงนั่ง ซึ่งมีขนาด
เล็กกำลังน่ารัก คือมีความกว้างประมาณ 1.8 ซ.ม. และสูงประมาณ 2.5 ซ.ม.เท่า
นั้น เป็นพระนั่งแบบสมาธิ ทรงชีโบ เป็นพระศิลปเขมรยุคต้น เนื้อตะกั่วสนิมแดง
จัด แบบแดงลูกหว้า มีคราบไขมันวาว คลุมทั่วองค์พระพร้อมขี้กรุบางๆที่สวยงาม
นอกจากนั้นยังพบเป็นพิมพ์พระร่วงนั่งแบบมารวิชัย มีทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์
ใหญ่ ที่มีน้อยที่สุดก็คือพิมพ์พระสังกัจจายน์ ปัจจุบันยังเป็นพระที่หาชมได้ น่าจะ
เก็บไว้บูชา เพราะถือว่าเป็นพระดีที่ถึงยุคทั้งหมด เนื้อ อายุ ศิลปะ ด้าน
พุทธคุณนั้น ก็แบบฉบับพระสกุลลพบุรีทั่วๆไป คือสุดยอดทางแคล้วคลาด คง
กระพันชาตรี นั่นเอง
ตะกั่ว มีด้วยกันหลายพิมพ์ แต่พิมพ์ที่พบมากที่สุดคือ พิมพ์พระร่วงนั่ง ซึ่งมีขนาด
เล็กกำลังน่ารัก คือมีความกว้างประมาณ 1.8 ซ.ม. และสูงประมาณ 2.5 ซ.ม.เท่า
นั้น เป็นพระนั่งแบบสมาธิ ทรงชีโบ เป็นพระศิลปเขมรยุคต้น เนื้อตะกั่วสนิมแดง
จัด แบบแดงลูกหว้า มีคราบไขมันวาว คลุมทั่วองค์พระพร้อมขี้กรุบางๆที่สวยงาม
นอกจากนั้นยังพบเป็นพิมพ์พระร่วงนั่งแบบมารวิชัย มีทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ เมืองพิษณุโลก เป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่ขอมมีอำนาจจนไล่มาถึงสมัยสุโขทัย
เพราะฉะนั้นประติมากรรมของขลังต่างๆ จึงมีหลายสมัยรวมกันไม่ว่า ขอม
สุโขทัย อยุธยา ตลอดจนรัตนโกสินทร์ และวัสดุที่ใช้ในการสร้างพระบูชา และ
พระเครื่องของเมืองพิษณุโลก ก็มีวัสดุแทบทุกอย่างในการสร้างไม่ว่า ทองคำ
เงิน ดิน ชิน สำริด

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2552














สำหรับพระกรุที่ประจักษ์พยานหลักฐานโบราณ ซึ่งแสดงถึงความมีวิวัฒนาการของ เมืองสุพรรณบุรี ก็คือ แหล่งโบราณสถาน และโบราณวัตถุ ที่พบในบริเวณ อ.อู่ทอง อ.สามชุก อ.ดอนเจดีย์ รวมทั้งในบริเวณ อ.เมืองสุพรรณบุรี
ที่ประกอบไปด้วยศิลปกรรมแต่ละยุคแต่ละสมัย เช่น ศิลปะอมรวดี ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี อู่ทอง อยุธยา และแม้แต่ศิลปะรัตนโกสินทร์
ศิลปะเหล่านี้ปรากฏอยู่ในโบราณสถาน เช่น พระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดพระรูป วัดชุมนุมสงฆ์ วัดการ้อง ฯลฯ จนมีคำกล่าวว่า "ไม่มีแผ่นดินของจังหวัดใดที่จะพบพระเครื่องมากกรุเท่ากับเมืองสุพรรณบุรีนี้ได้เลย" เลื่องชื่อและเป็นที่รู้จักของนักเลงพระทั่วประเทศ ได้แก่ ๑.พระกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ๒.พระกรุวัดการ้อง ๓.พระกรุวัดชุมนุมสงฆ์ ๔.พระกรุดอนคา ๕.พระกรุวัดปู่บัว ๖.พระกรุวัดคูบัว ๗.พระกรุบ้านหนองแจง ๘.พระกรุสองพี่น้อง (บางลี่) ๙.พระกรุศาลาขาว (บ้านสวนแตง) ๑๐.พระกรุวัดลาวทอง ๑๑.พระกรุบ้านหัวเกาะ
๑๒.พระกรุท่าเสด็จ ๑๓.พระกรุบ้านดงเชือก ๑๔.พระกรุบ้านละหาน ๑๕.พระกรุบ้านโพธิ์ตะควน ๑๖.พระกรุบ้านวังวน ๑๗.พระกรุบ้านพลูหลวง ๑๘.พระกรุวัดท่าไชย-กรุโรงสี-กรุวัดตะไกร ๑๙.พระกรุวัดป่าเลไลยก์ ๒๐.พระกรุวัดราชเดชะ
๒๑.พระถ้ำเสือ กรุวัดเขาถ้ำเสือ กรุวัดเขาพระ กรุวัดเขาดีสลัก ๒๒.พระกรุวัดพระรูป ๒๓.พระขุนแผนกรุวัด
ตัวอย่างพระกรุเมื่อสุพรรณ เช่น พระกรุบ้านละหาน สถานที่พบ คือ บ้านละหาน อยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ที่ ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ ห่างจากวัดบ้านกร่างไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๓ กิโลเมตร เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓ ชาวบ้านขุดดินใต้ถุนเรือน และพบพระเครื่องประมาณ ๒,๐๐๐ องค์ ซึ่งมีทั้งพระร่วงและพระนาคปรก พระกรุนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง มีสนิมแซมไขบ้าง มีชื่อเสียงมากทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี
พระกรุบ้านหัวเกาะ สถานที่พบ คือ บ้านหัวเกาะ ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน ที่ ต.สนามชัย หรือ ต.วิหารแดงเดิม อ.เมือง เหนือวัดลาวทองไปประมาณ ๑๐๐ เมตร เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐ ชาวบ้านขุดพบไหบรรจุพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดง ประมาณ ๔,๐๐๐ องค์ และถือว่าเป็นพระที่มีเนื้อสนิมแดงจัดกว่าพระสนิมแดงทุกกรุ ในสุพรรณบุรี พระกรุนี้สันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงลพบุรีต่อกับสมัยอู่ทอง มีพุทธคุณโดดเด่นในด้านอยู่ยงคงกระพัน
พระกรุวัดลาวทอง สถานที่พบ คือ วัดลาวทอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน และเหนือตลาด จ.สุพรรณบุรี ที่ ต.สนามไชย อ.เมือง เดิมชื่อ วัดเลา ต่อมาเพี้ยนเป็น ลาวทอง เพื่อให้สอดคล้องตามวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน วัดลาวทอง เป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยลพบุรีตอนปลาย หรืออู่ทองตอนต้น ในบริเวณวัด พบฐานพระอุโบสถและเจดีย์ร้างหลายองค์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ ชาวบ้านข้างวัด ขุดดินเพื่อปลูกบ้าน พบโอ่งซึ่งภายในบรรจุพระเครื่อง พระบูชา เป็นจำนวนมาก สำหรับพระเครื่องนั้นส่วนใหญ่เป็นพระร่วง ซึ่งมีอยู่หลายพิมพ์
พระกรุสองพี่น้อง หรือ บางลี่ สถานที่พบ คือ อ.อู่ทอง ที่บ้านหุบระฆัง ต.บางลี่ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ชาวบ้านเรียกบริเวณที่พบกรุว่า เนินวิหาร เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓ นายอำเภอสองพี่น้องได้ส่งรถเกรดไปไถดิน ตามเส้นทางโบราณ เพื่อทำถนน พบไหพระเครื่องฝังอยู่ใต้ดิน ต่อมามีคนพบไหเช่นเดียวกันในบริเวณนั้น และมีพระพิมพ์บรรจุอยู่ประมาณ ๒,๐๐๐ องค์ พระที่พบจากกรุงสองพี่น้องส่วนใหญ่เป็นพระร่วงประทับยืน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอู่ทองต่อกับลพบุรี
พระกรุวัดคูบัว สถานที่พบ คือ วัดคูบัว ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านแหลม อ.บางปลาม้า เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ มีการขนอิฐจากเนินดินที่อยู่ห่างวัดประมาณ ๑ กิโลเมตร เพื่อนำไปสร้างอุโบสถ จึงพบกรุพระเครื่องบูชา ซึ่งมีลักษณะเป็นพระร่วงประทับยืนเป็นจำนวนมาก มีพุทธคุณทางแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี รุวัดปู่บัว สถานที่พบ คือ วัดปู่บัว ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสุพรรณ ที่ ต.สนามไชย อ.เมือง ซึ่งอยู่เลยตลาด จ.สุพรรณบุรี ไปทางทิศเหนือประมาณ ๕ กิโลเมตร เล่ากันว่า เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๗๖ พระอาจารย์ใย เจ้าอาวาสวัดปู่บัวในเวลานั้น ขุดดินเพื่อสร้างถนนภายในวัด พบกรุพระพุทธรูปหินทรายเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีพระเครื่องพระบูชา บรรจุอยู่ในไหประมาณ ๕๐๐ องค์ ทั้งหมดเป็นพระร่วงเนื้อตะกั่วสีแดงเข้ม ประทับยืนประทานพร มีหลายพิมพ์ พระพิมพ์เศียรโต จากกรุวัดปู่บัว ปัจจุบันมีราคาเช่าสูงกว่าพระร่วงกรุวัดปู่บัว ทุกพิมพ์ แต่ทุกพิมพ์ก็มีพุทธคุณด้านคงกระพันชาตรีเช่นเดียวกัน
พระกรุบ้านดอนคา สถานที่พบ คือ บ้านดอนคา ตั้งอยู่ที่ อ.อู่ทอง พระเครื่องของกรุนี้เป็นพระพิมพ์นาคปรก สมัยลพบุรี มีเอกลักษณะเฉพาะตัว คือ เป็นพระประทับนั่งบนขนดนาค ๕ เศียร และพบเพียงพิมพ์เดียว เนื้อตะกั่วสนิมแดง
พระนาคปรก กรุบ้านดอนคา จัดว่าเป็นพระที่หายาก การเช่าหาอยู่ในราคาสูง พุทธคุณยอดเยี่ยมทางแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี พระพิมพ์นี้เคยมีผู้พบที่วัดมหาธาตุ จ.ลพบุรี แต่มีจำนวนน้อยมาก
พระกรุวัดชุมนุมสงฆ์ สถานที่พบ คือ วัดชุมนุมสงฆ์ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ที่ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง เป็นวัดโบราณเก่าแก่อีกวัดหนึ่งของสุพรรณบุรี เล่ากันว่า เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ เจดีย์องค์ประธานของวัดถูกลักลอบขุด ผู้ร้ายได้พระบูชาและพระเครื่องไปเป็นจำนวนมาก
ต่อมาจังหวัดขุดกรุดังกล่าวพบพระเครื่องเนื้อชินเงิน ฉาบด้วยผิวปรอทขาว จำนวน ๔,๒๕๐ องค์ พระกำแพงศอก ๑๐ องค์ และพระบูชาอีก ๒ องค์
พระกรุวัดการ้อง สถานที่พบ คือ วัดการ้องเดิม ชื่อวัดแร้ง ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของเจดีย์วัดสนามไชย ที่ ต.สนามไชย อ.เมือง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ มีผู้ขุดพบพระเครื่องปางลีลาเนื้อชินเงินฉาบด้วยผิวปรอทขาว มี ๓ พิมพ์ เป็นที่เชื่อถือกันว่ามีพระพุทธคุณทางด้านความเจริญก้าวหน้า และโภคทรัพย์ สถานที่พบ คือ วัดชุมนุมสงฆ์ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ที่ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง เป็นวัดโบราณเก่าแก่อีกวัดหนึ่งของสุพรรณบุรี เล่ากันว่า เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ เจดีย์องค์ประธานของวัดถูกลักลอบขุด ผู้ร้ายได้พระบูชาและพระเครื่องไปเป็นจำนวนมาก
ต่อมาจังหวัดขุดกรุดังกล่าวพบพระเครื่องเนื้อชินเงิน ฉาบด้วยผิวปรอทขาว จำนวน ๔,๒๕๐ องค์ พระกำแพงศอก ๑๐ องค์ และพระบูชาอีก ๒ องค์
พระกรุวัดการ้อง สถานที่พบ คือ วัดการ้องเดิม ชื่อวัดแร้ง ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของเจดีย์วัดสนามไชย ที่ ต.สนามไชย อ.เมือง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ มีผู้ขุดพบพระเครื่องปางลีลาเนื้อชินเงินฉาบด้วยผิวปรอทขาว มี ๓ พิมพ์ เป็นที่เชื่อถือกันว่ามีพระพุทธคุณทางด้านความเจริญก้าวหน้า และโภคทรัพย์



พระร่วงนั่งหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม


เป็นพระเนื้อชินเงินบริสุทธิ์ ศิลปะสกุลสุโขทัย แต่บางตำราก็ว่า ศิลปะลังกา ยุคสุโขทัย สกุลช่างศรีสัชนาลัย วัดช้างล้อม อยู่ในจังหวัดสุโขทัย นักเลงพระรุ่นเก่ามักเรียกพระกรุสุโขทัยว่า "พระร่วง" ทั้งสิ้นและให้ความนิยม พระร่วงนั่งหลังลิ่มเสมอด้วย พระร่วงยืนสนิมแดง หลังราวปืนทีเดียว ความนิยมสูงขนาดเอา พระสมเด็จฯ 2 องค์มาแลกก็ไม่ยอม (สมัยก่อนโน้น นะครับท่าน)
สถานที่พบพระร่วงนั่งหลังลิ่ม คือ ที่เจดีย์ วัดช้างล้อม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย (ในอุทยานประวัติศาสตร์) ชายเทือกเขาพนมเพลิงด้านใต้ พระร่วงนั่งมี 2 พิมพ์ คือ ชนิด หลังมีลิ่ม และหลังไม่มีลิ่ม จุดสังเกตของพระร่วงนั่งหลังลิ่ม ที่สำคัญที่สุด คือ ร่องนิ้วมือที่พาดหัวเข่าองค์ไหนไม่มี พึงระวัง ด้านหลัง ต้องเสี้ยนตรงคอยาวสุดสุด ฯลฯ





พระร่วงนั่งหลังลิ่ม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัยโดย จ.ส.อ. เอนก เจกะโพธิ์

พระร่วงนั่งหลังลิ่ม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
พระร่วงนั่งหลังลิ่ม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย•••••••••••••••••••••••••
พระร่วงนั่งหลังลิ่ม นับเป็นพระเครื่องชั้นสูงสุดยอดของอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัยในอดีต เป็นอาณาจักรอันเก่าแก่หรือเมืองหลวงอันสำคัญยิ่ง ของประเทศไทย ปัจจุบันได้รับรองให้เป็นเมืองอุทยานประวัติศาสตร์ มีเอกลักษณ์ประจำเมืองมาแต่ครั้งโบร่ำโบราณนานมาแล้วร่วมพันปี คือนานกว่ากรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ บรรดานักนิยมสะสมพระเก่าพระแท้ในอดีต นิยมพระร่วงนั่งหลังลิ่มกันมากเกือบเท้าพระร่วงยืนสนิมแดงหลังรางปืนเช่นกัน
นักนิยมพระทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ต่างเรียกขานพระกรุสุโขทัยเกือบจะทั้งนั้นว่า พระร่วงแทบทั้งสิ้น เพราะเขาถือตามเอกลักษณ์ลักษณะรูปร่างอันเป็นองค์ประกอบประการ 1 และประการที่ 2 คือเรียกตามลำดับชื่อของพระเจ้าแผ่นดินในสมัยนั้นจนติดปาก คำว่าพระร่วงนั่งมีทั้งสวมหมวกจีโบและไม่สวมหมวกจีโบ สร้างเป็นองค์เดี่ยวๆ ก็มี และบางครั้งก็เรียกตามชื่อกรุ ชื่อพระต่างๆ กันตามความหมายเพื่อสืบความเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว หรือช่างผู้ที่จินตนาการแกะสลักก็ดี หล่อรูปก็ดีปั้นก็ดี ย่อมแสดงเอกลักษณ์ประจำตัวของตัวเองเสมอ เราจึงสามารถอ่านศิลปของพระได้ค่อนข้างจะชัดเจน และถูกต้องกันพอสมควร และในสวรรคโลกนั้นมีกรุอยู่ด้วยกันหลายร้อยหลายพันกรุด้วยกัน
พระร่วงนั่งสุโขทัย มีคู่กับพระร่วงยืน กรุสวรรคโลกและมีพระเจดีย์จำนวนไม่น้อยที่สวรรคโลกมีกรุพระที่ทางการขุดพบบ้าง และผู้ร้ายได้ลักลอบขุดบ้าง ทั้งชนิดเล็กและใหญ่คละเคล้าปะปนกันไปเป็นจำนวนมาก มีพระเนื้อดินก็มาก ชินก็แยะ ตะกั่วสนิมแดงก็มีไม่น้อย (เช่น พระเชตุพนสนิมแดงพิมพ์ใหญ่) และอื่นๆ อีกมาก
พระเจดีย์กรุวัดช้างล้อม ที่อำเภอสวรรคโลก เชิงชายเทือกเขาด้านใต้นั้น ข้าพเจ้าเคยไปถ่ายรูปมาเสียด้วยซ้ำไป แต่น่าเสียดายหาฟิล์มไปพบ ก็ขอบรรยายไปว่า ฐานของพระเจดีย์มีช้างล้อมรอบทั้งที่สมบูรณ์แบบและไม่สมบูรณ์แบบก็มี ขณะนั้นศิลปากรกำลังบูรณะอยู่ มีช้างล้อมมีฐานเจดีย์ (รอยฐานด้านล่าง) ด้านบนเป็นเจดีย์ทรงลังกา ผมจำไม่ผิด ปรียอดของเจดีย์ชำรุด บริเวณเดียวกันมีพระเจดีย์มากมายก่ายกอง ไม่แพ้วัดพระศรีมหาธาตุ หรืออยุธยาบางวัดเลย พระทั้งหมดมีศิลปสุโขทัยเป็นส่วนใหญ่ สังเกตุดูจากภาพพระบูชาขนาดใหญ่
พระร่วงนั่งหลังลิ่ม นักเลงโบราณหรือนักสะสมนักเล่นพระสมัยก่อนนั้นศรัทธาเลื่อมใสสุดขีดเรียกว่าใครมีพระร่วงหลังลิ่มแล้ว นับว่ายอดเยี่ยม สมัยก่อนสมเด็จ 2 องค์ยังแลกกับพระร่วงหลังลิ่ม 1 องค์ก็ไม่ได้ ซึ่งตรงกันข้ามกับสมัยนี้ มีหลังลิ่ม 10 องค์แลกสมเด็จครึ่งองค์ยังไม่ได้ เป็นเรื่องแปลกแหวกแนวที่เราจะต้องคิด พระร่วงนั่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ พระร่วงนั่งหลังลิ่ม และพระร่วงนั่งหลังตัน (พิมพ์ทรงเดียวกัน แต่หลังตันหลังไม่ลิ่ม) เคยฟังมาว่าแถบจังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีพระร่วงหลังไม่ลิ่มเช่นกัน แต่ผู้เขียนพบน้อยมากไม่เกิน 10 องค์ ก็ให้รู้ไว้ว่า มี 2 พิมพ์ทรงคือ ชนิดหลังลิ่มกับหลังไม่ลิ่มก็แล้วกัน
พระร่วงนั่งหลังลิ่มเป็นพระตระกูลช่างศิลปสุโขทัย พระพัตร์แบบอู่ทอง-สุโขทัย กำแพง, อู่ทองสุโขทัย, อู่ทองอยุธยา) ทั้ง 3 อย่างนี้จะมีลักษณะสัณฐานคล้ายคลึงกัน พระร่วงนั่งเป็นพระแบบครึ่งซีก มีหลังตันก็เคยพบเห็น (มีทั้งหลังตันและหลังลิ่ม)


ด้านหน้า
ด้านหลัง
พุทธลักษณะ เป็นพระนั่งปางมารวิชัย หรือปางสะดุ้งมาร (เข่านอก) ประทับนั่งบนฐานเขียงเนื้อเป็นเนื้อชินเงิน นั่งแบบลอยองค์ มีลักษณะโดยทั่วๆ ไปได้แก่
พระพัตร์ จะกลมแลดูเกือบป้อม พระหนุมนจนเกือบจะเป็นคางคน(คางเหลี่ยม)
พระเกศ คล้ายมีฝาชีครอบเหนือเมาลี เรียกว่าทรงจีโบ(ทรงกรวย)
กรอบไรพระศก์ เป็นเส้นลาดนูน (คล้ายเกลียวลวด) พระเกศเรียวคล้ายยอดพระเจดีย์เป็นชั้นๆ
ลำพระองค์ สูงชลูดแต่มีลักษณะกลมกลืนกัน
สังฆาฎิที่พาด ปรากฏอยู่เหนือราวนม
ด้านหลัง เป็นรอยเว้าตามองค์พระ ด้านบนจะตัดเกือบเสมอพระอังสา(บ่า) เราเรียกแม่พิมพ์ด้านหลังนี้ว่า แม่พิมพ์ตัวเมีย (ส่วนแม่พิมพ์ด้านหน้าเราเรียกว่า แม่พิมพ์ตัวผู้ ข้อสำคัญที่เราสังเกตพิมพ์ด้านหลังให้จำไว้ง่ายๆ คือ จะมีรอยเส้นไม่เรียบร้อยเป็นเส้นๆ มีเส้นใหญ่และเส้นเล็กโปรดสังเกตของจริง และพระศอ (คอ) จะบางที่สุด จึงเปราะและหักง่ายมาก หาความสมบูรณ์แบบได้ยากยิ่ง ที่จดจำที่บอกนี้อาจจะยังไม่เป็นข้อยุติได้ต้องศึกษาอีกมาก ปัจจุบันมีปรากฏว่าของปลอมโดนกันคนละหลายตุ๊บ ไม่ว่าจะเป็นดินกรุ, สนิมกรุ, สนิมไข, รอยราน, รอยปริระเบิด, ใกล้เคียงธรรมชาติแท้ๆ